สาระน่ารู้

แนวทางฉลากแสดงประสิทธิภาพพลังงานสำหรับอาคารใหม่

 



กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) กระทรวงพลังงาน โดยศูนย์ประสานงานการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน ได้จัดทำแนวทางการติดฉลากแสดงประสิทธิภาพพลังงานสำหรับอาคารใหม่ของภาครัฐและเอกชน โดยได้รวบรวมข้อมูล หลักเกณฑ์ และมาตรฐานประสิทธิภาพพลังงานของอาคารต่างๆ มาศึกษาและวิเคราะห์ผล เพื่อให้ให้เป็นนโยบายส่งเสริมและกระตุ้นให้เกิดการออกแบบอาคารให้อนุรักษ์พลังงานตั้งแต่เริ่มต้นในขั้นตอนการออกแบบอาคารทั้งในอาคารภาครัฐและเอกชน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการประหยัดพลังงานในอาคาร ตามแผนอนุรักษ์พลังงาน 20 ปี (พ.ศ. 2554 - พ.ศ. 2557) ของกระทรวงพลังงานโดยให้ผู้สนใจสามารถเข้ามามีส่วนร่วมเพื่อรณรงค์ส่งเสริมให้มีการติดฉลากแสดงประสิทธิภาพพลังงานของอาคารสำหรับอาคารใหม่ของภาครัฐและเอกชน จะอ้างอิงตามกฎกระทรวงกำหนดประเภท หรือขนาดอาคาร และมาตรฐาน หลักเกณฑ์ และวิธีการในการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2552 ในหมวดต่างๆ ดังต่อไปนี้


หมวดที่ 1 ประเภทอาคารและขนาดอาคาร ที่มีขนาดพื้นที่รวมกันทุกชั้น ในหลังเดียวกันตั้งแต 2,000 ตารางเมตรขึ้นไป ประกอบด้วย
1. สถานพยาบาลตามกฎหมายวาดวยสถานพยาบาล
2. สถานศึกษา
3. สํานักงาน
4. อาคารชุดตามกฎหมายวาดวยอาคารชุด
5. อาคารชุมนุมคนตามกฎหมายวาดวยการควบคุมอาคาร
6. อาคารโรงมหรสพตามกฎหมายวาดวยการควบคุมอาคาร
7. อาคารโรงแรมตามกฎหมายวาดวยโรงแรม
8. อาคารสถานบริการตามกฎหมายวาดวยสถานบริการ
9. อาคารหางสรรพสินคาหรือศูนยการคา


หมวดที่ 2 มาตรฐานและหลักเกณฑในการออกแบบอาคาร
ส่วนที่ 1 ระบบกรอบอาคาร
ส่วนที่ 2 ระบบไฟฟ้าแสงสว่าง
ส่วนที่ 3 ระบบปรับอากาศ
ส่วนที่ 4 อุปกรณ์ผลิตน้ำร้อน
ส่วนที่ 5 การใช้พลังงานโดยรวมในอาคาร
ส่วนที่ 6 การใช้พลังงานหมุนเวียนในระบบต่างๆ ของอาคาร
การประเมินประสิทธิภาพพลังงานของอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน ที่นำมาใช้ในการประเมินการติดฉลากแสดงประสิทธิภาพพลังงาน ใช้ผลการประเมินจากโปรแกรมประเมินประสิทธิภาพพลังงานของอาคาร Building Energy Code Software: BEC Software Version 1.0.5 ขึ้นไป ซึ่งต้องผ่านเกณฑ์มาตฐานตามกฎกระทรวงฯ ในหมวดที่ 2 ส่วนที่ 1 ระบบกรอบอาคารตามค่าการถ่ายเทความร้อมรวมผ่านผนัง (OTTV) และค่าการถ่ายเทความร้อนรวมผ่านหลังคา (RTTV) ส่วนที่ 2 ระบบไฟฟ้าแสงสว่าง ส่วนที่ 3 ระบบปรับอากาศ และส่วนที่ 5 การใช้พลังงานโดยรวมในอาคารเป็นสำคัญ




 เกณฑ์เบื้องต้นในการติดฉลากแสดงประสิทธิภาพพลังงาน
อาคารที่สามารถเข้าร่วมโครงการได้ ต้องเป็นอาคารที่ระบุไว้ในกฎกระทรวงฯ ตามหมวดที่ 1 โดยแบ่งประเภทของกลุ่มอาคารได้ดังตารางที่ 4 และจากการศึกษา และวิเคราะห์ข้อมูลจากการตรวจประเมินแบบอาคารตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 – พ.ศ. 2555 เห็นชอบให้กำหนดเกณฑ์การแบ่งประเภทฉลากแสดงประสิทธิภาพพลังงานในตารางที่ 5 โดยแบ่งเกณฑ์การให้ฉลาก เป็นดังนี้
          1. ขั้นการออกแบบ (Drawing Design) เป็นอาคารที่อยู่ระหว่างการออกแบบก่อสร้าง หรืออยู่ระหว่างการก่อสร้าง พิจารณาคัดเลือก อาคารที่ผานเกณฑการออกแบบตามกฎกระทรวงฯ ตามผลประเมินจาก โปรแกรมประเมินประสิทธิภาพพลังงานของอาคาร Building Energy Code Software: BEC Version 1.0.5 ขึ้นไป มีสิทธิไดรับฉลากแบบอาคารอนุรักษ์พลังงาน
          2. ขั้นเปิดใช้งาน (Fully Design) เปนอาคารที่เปดใชงานไมเกิน 2 ป พิจารณาคัดเลือกอาคารท่ีผานเกณฑการออกแบบตามกฎกระทรวงฯ ตามผลประเมินจากโปรแกรมประเมินประสิทธิภาพพลังงานของอาคาร Building Energy Code Software: BEC Version 1.0.5 ขึ้นไป และผานการตรวจสอบและรับรองผลจากผูทรงคุณวุฒิ มีสิทธิไดรับโลประกาศเกียรติคุณ