การที่จะนำคำว่า
Green buildings ไปเป็นจุดขายเพื่อแสวงผลประโยชน์ทางการตลาดในโครงการอสังหาริมทรัพย์ หรือแม้แต่สมัครเข้ารับการช่วยเหลือจากภาครัฐหรือองค์การนานาชาติด้านสิ่งแวดล้อม ทำให้มีการโฆษณาชวนเชื่อว่าโครงการที่กำลังออกแบบก่อสร้างนั้น ๆ เป็นอาคารสีเขียว การที่จะพิสูจน์ยืนยันว่าโครงการต่าง ๆ นั้นได้รับการออกแบบให้เป็น Green buildings อย่างถูกวิธี จึงจำเป็นต้องมีการกำหนดเป็นมาตรฐานขึ้นมา ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้วิธีการให้คะแนนตามรายการ (Checklist) หรือเรียกว่าแบบประเมินอาคาร ซึ่งปัจจุบัน ทั่วโลกได้พัฒนาแบบประเมินของตนเองออกมา เช่น ประเทศอังกฤษ ได้มีการพัฒนาแบบประเมินอาคารสีเขียว เรียกว่า
BREEAM (Building Research Establishment’s Environmental Assessment Method) หรือ ประเทศสหรัฐอเมริกา ก็มีหน่วยงาน
The U.S. Green Building Council (USGBC) ได้พัฒนาแบบประเมินอาคารที่เรียกว่า
LEED หรือ
Leadership in Energy & Environmental Design ซึ่งได้แยกเกณฑ์ การให้คะแนนเป็นข้อ ๆ ดังนี้ โดยอาคารที่ผ่านเกณฑ์แต่ละข้อก็จะได้คะแนนสะสม จนได้คะแนนรวมเพื่อเสมือนที่จะให้
“ดาว” แก่อาคาร เป็นดาวเงิน ดาวทอง หรือดาว Platinum
// หัวข้อการให้คะแนนของแบบประเมินอาคารตามมาตรฐาน LEED คะแนนรวม 69 คะแนน
(ภาพจาก http://conciencia-sustentable.abilia.mx)
1) Sustainable Site (14 คะแนน)
ในหัวข้อนี้จะเน้นที่การเลือกสถานที่ตั้งโครงการที่ไม่รุกล้ำพื้นที่ที่เป็นแหล่งธรรมชาติเดิม ซึ่งหากใช้สถานที่เดิมที่เคยทำการก่อสร้างแล้ว ก็จะได้คะแนนในหัวข้อนี้มาก นอกจากนี้การให้คะแนนในหัวข้อนี้ก็จะเกี่ยวข้องกับการพยายามรักษาหน้าดินเดิมการป้องกันการกัดกร่อนของหน้าดิน การจัดการระบบระบายน้ำฝน การลดมลภาวะทางด้านแสงสว่างรบกวนสู่สภาพแวดล้อมข้างเคียงในเวลากลางคืน การเลือกสถานที่ตั้งที่การคมนาคมขนส่งมวลชนสามารถเข้าถึงได้ เพื่อประหยัดพลังงานจากการใช้น้ำมัน หรือรถยนต์ส่วนตัว การมีพื้นที่สีเขียวเพื่อลดภาวะเกาะร้อน (Heat Island)
· Erosion & Sedimentation Control (Required)
· Site Selection
· Development Density
· Brownfield Redevelopment
· Alternative Transportation
· Reduced Site Disturbance
· Storm water Management
· Heat Island Effect
· Light Pollution Reduction
2) Water Efficiency (5 คะแนน)
ในหัวข้อนี้จะเน้นที่การใช้ทรัพยากรน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ การออกแบบภูมิสถาปัตยกรรมที่ไม่สิ้นเปลืองน้ำเพื่อการบำรุงรักษาต้นไม้ ซึ่งยังรวมถึงการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการบำบัดน้ำเสียจากโครงการ
· Water Efficient Landscaping
· Innovative Wastewater Technology
· Water Use Reduction
3) Energy and Atmosphere (17 คะแนน)
ในหัวข้อนี้จะเน้นที่การใช้ทรัพยากรพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการใช้พลังงานทดแทนอย่างเหมาะสม ทางด้านการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ เจ้าของอาคารจะต้องมีแผนการจัดการพลังงาน และแผนการบำรุงรักษาอุปกรณ์งานระบบอาคารอย่างเหมาะสม และสม่ำเสมอ รวมทั้งการตรวจวัดการใช้พลังงานของอาคาร (Measurement & Verification) นอกจากการออกแบบอาคารให้มีประสิทธิภาพตั้งแต่ต้นการจัดการอาคารภายหลังอาคารได้รับการเปิดใช้งานแล้ว ก็จัดเป็นเรื่องที่สำคัญมากด้วยทางด้านสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวกับการรักษาบรรยากาศโลก หัวข้อนี้ยังจัดให้คะแนนแก่การออกแบบที่ช่วยลดก๊าซเรือนกระจก ที่พบว่าทำให้เกิดรูโหว่ของโอโซนชั้นบรรยากาศโลกอีกด้วย
· Fundamental Building Systems Commissioning (Required)
· Minimum Energy Performance (Required)
· CFC Reduction in HVAC&R Equipment (Required)
· Optimized Energy Performance
· Renewable Energy Additional Commissioning
· Ozone Depletion
· Measurement & Verification
· Green Power
4) Materials and Resources (13 คะแนน)
ในหัวข้อนี้จะเน้นที่การใช้วัสดุก่อสร้างอาคารอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นวัสดุที่มาจากแหล่งที่ต้องทำลายสิ่งแวดล้อม โดยหลักการทั่วไป มักจะได้แก่วัสดุรีไซเคิล หรือวัสดุก่อสร้างพื้นถิ่นที่ได้มาโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายหรือค่าพลังงานในการขนส่งมาจากแหล่งอื่น รวมทั้งการวางแผนจัดการขยะจากการก่อสร้างอาคารอีกด้วย
· Storage & Collection of Recyclables (Required)
· Building Reuse
· Construction Waste Management
· Resource Reuse
· Recycled Content
· Local / Regional Materials
· Rapidly Renewable Materials
· Certified Wood
5) Indoor Environmental Quality (15 คะแนน)
ในหัวข้อนี้จะเน้นที่การออกแบบ ก่อสร้าง และบริหารจัดการให้อาคารมีสภาวะแวดล้อมภายในที่น่าสบาย ปลอดสารพิษ โดยวิธีการใช้วัสดุก่อสร้างและตกแต่งอาคารที่เหมาะสม การจัดให้มีการระบายอากาศที่เพียงพอ การได้รับแสงสว่างธรรมชาติ รวมถึงการจัดการบริหารอาคารและการทำความสะอาดอย่างเหมาะสมและสม่ำเสมอโดยมีหัวข้อที่ให้คะแนนดังนี้
· Minimum IAQ Performance (Required)
· การควบคุมควันบุหรี่ (Environmental Tobacco Smoke Control) (Required)
· การตรวจจับปริมาณความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon Dioxide (CO2) Monitoring)
· ประสิทธิผลของการระบายอากาศ (Ventilation Effectiveness)
· แผนการก่อสร้างที่มีการจัดการคุณภาพอากาศภายใน (Construction IAQ Management Plan)
· การใช้วัสดุอาคารที่มีการปล่อยสารเคมี หรือสารพิษต่าง ๆ (Low-Emitting Materials)
· การควบคุมสารเคมีและสารมลพิษภายใน (Indoor Chemical & Pollutant Source Control)
· การควบคุมระบบอาคาร (Controllability of Systems)
· สภาวะน่าสบายเชิงอุณหภาพ (Thermal Comfort)
· การให้แสงสว่างธรรมชาติและทิวทัศน์ (Daylight & Views)
6) Innovation and Design Process (5 คะแนน)
ในหัวข้อนี้จะเน้นที่การออกแบบส่วนประกอบอื่น ๆ ที่ผู้ออกแบบอาคารสร้างสรรค์ขึ้นมาให้เป็นนวัตกรรมที่ช่วยแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยทั่วไปมักจะได้แก่องค์ประกอบการออกแบบพิเศษที่มีลักษณะนอกเหนือไปจากกฎเกณฑ์ทั่ว ๆ ไปที่กำหนดไว้ในข้อ 1-5 ทั้งนี้แบบประเมิน LEED ยังได้ให้คะแนนพิเศษแก่โครงการที่มีผู้เชี่ยวชาญพิเศษที่ได้การรับรองว่ามีความสามารถที่จะเสนอแนะแนวทางการออกแบบอาคารให้สอดคล้องกับแนวทางของ LEED อีกด้วย
· ผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการรับรอง (LEED Accredited Professional)
· นวัตกรรมในการออกแบบ (Innovation in Design)
คะแนนเต็มมีทั้งสิ้น 69 คะแนน ซึ่งเมื่อรวมคะแนนทั้งหมดแล้ว
ถ้าได้คะแนนรวม 26-32 คะแนน จะได้ระดับ
“Certified”
ถ้าได้คะแนน 33-38 คะแนน จะได้ระดับ
“Silver”
ถ้าได้คะแนน 39-51 จะได้ระดับ
“Gold” และ
ถ้าได้คะแนน 52-69 จะได้ระดับ
“Platinum”
ผลที่ได้นี้จะเป็นแรงจูงใจให้มีการคิดค้น ออกแบบ และก่อสร้าง Green buildings กันมากขึ้น โดยทั้งนี้จะมีหน่วยงานของภาครัฐให้การสนับสนุนต่อไป
//เกณฑ์ระดับดาวตามคะแนนของมาตรฐาน LEED
(ภาพจาก http://sumacinc.com)
สำหรับประเทศไทย ได้มีการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำแบบประเมินอาคารประหยัดพลังงานและรักษาสิ่งแวดล้อม โดยกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) กระทรวงพลังงาน ได้มอบหมายให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (โดยคณะผู้วิจัยจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และสถาบันวิจัยพลังงาน) ทำการศึกษาและออกแบบวิธีการประเมินอาคารสีเขียวในแนวทางที่คล้ายกันกับ LEED โดยในขั้นต้นได้เรียกชื่อว่า
TEEAM (Thailand Energy and Environmental Assessment Method) ซึ่งกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานได้นำมาใช้เป็นเกณฑ์ประเมินอาคารที่จะเข้าข่ายที่จะได้รับการส่งเสริมจากรัฐบาล ซึ่งคาดว่าจะเป็นที่ยอมรับในวงการอสังหาริมทรัพย์มากขึ้นในไม่ช้านี้
ที่มา อรรจน์ เศรษฐบุตร. (2551). สถาปัตยกรรมสีเขียว:การท้าทายเพื่อความยั่งยืน. อาษา 10:51-11:51, หน้า 70-76